ข่าวสาร

ทำแผนประเทศระยะยาวรับยุคดิจิทัล

ธันวาคม 21, 2015

14114745431411474631l-600x399

ทำแผนประเทศระยะยาวรับยุคดิจิทัล

ร.อ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการประชุมติดตามความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

เมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้สั่งให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รับเป็นแม่งานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำวิสัยทัศน์ของประเทศไทยในด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ระยะยาว 10 ปี ตั้งแต่ปี 58-68 ว่าจากนี้ไปไทยมีเรื่องอะไรที่ต้องทำ ต้องใช้งบประมาณจำนวนเท่าไร และเตรียมตัวรองรับระบบเศรษฐกิจใหม่ที่เน้นเรื่องเทคโนโลยีและดิจิทัลมากขึ้น

“การทำวิสัยทัศน์ต้องกำหนดมีเป้าหมายว่า ไทยจะเป็นอย่างไรในอีก 10 ปีข้างหน้า และนับถอยหลังมา 5 ปี หรือครึ่งหนึ่งของแผนไทยควรทำเรื่องอะไรต่อเนื่อง ให้วางขั้นตอนรายละเอียดให้ชัดเจน เน้นว่า มีแผน มีระยะเวลา และใช้งบประมาณอย่างไร ประเมินผลอย่างไร โดยนายกฯ ไม่ให้มุ่งแต่การจะให้ได้งบประมาณมาอย่างเดียว แต่ให้มุ่งการใช้งบประมาณให้มีประสิทธิภาพที่สุด ขณะเดียวกันยังขอให้กระทรวงต่างประเทศช่วยดูแลปัญหาเรื่องวีซ่า และหนังสือเดินทางด้วย”

ขณะเดียวกันยังสั่งให้คณะทำงานด้านกฎหมายเพื่อการเขาสู่ประชาคมอาเซียน จัดลำดับความสำคัญการเสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำตามพันธกรณี และการใช้ประโยชน์จากอาเซียน และห้กระทรวงพาณิชย์หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำรายละเอียดของแผนการเปิดเสรีการค้าบริการของไทย ขณะที่กระทรวงคมนาคม และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ต้องเร่งรัดแผนงานที่ค้างไว้ด้วย

ร.อ.ยงยุทธ กล่าวว่า นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน ยังแสดงความเห็นในที่ประชุมด้วยว่า การสร้างประเทศไทยให้เป็นประเทศที่ค้าขายได้เข็มแข็ง และมีภาคบริการที่เอื้อต่อการค้า ต้องผลักดันเรื่องของเศรษฐกิจดิจิทัลให้เข้มแข็ง จะช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงของอาเซียนเข้ากับได้อย่างเข้มแข็ง และดีต่อระบบเศรษฐกิจของไทยด้วย

ทั้งนี้ด้านการเตรียมความพร้อมในเสาของเออีซีนั้น ล่าสุดไทยได้ทำตามแผนพิมพ์เขียวอาเซียน คืบหน้าถึง 90% จากที่มีทั้งหมด 540 มาตรการ เช่น การลดภาษีนำเข้าเป็น 0% เปิดเสรีการค้าบริการในสาขาต่างๆ คลังข้อมูลทางการค้าของไทย ระบบรับรองถิ่นเกิดสินค้าด้วยตนเอง ข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชาชีพบัญชี สถาปนิก และวิศวกร แผนยุทธศาสตร์ด้านเอสเอ็มอี และทรัพย์สินทางปัญญา การปรับประสานมาตรฐานและกฎระเบียบทางเทคนิคของสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม การจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา

ส่วนมาตรการสำคัญที่ยังค้างอยู่ คือ การลงนามข้อผูกพันการเปิดตลาดการค้าบริการ ชุดที่ 10 การให้สัตยาบันข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน ชุดที่ 6 ระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (เนชั่นแนล ซิงเกิล วินโดว์) การจัดทำความตกลงยอมรับร่วม อาหารสำเร็จร่วม และผลิตภัณฑ์ยานยนต์ และมาตรการอำนวยความสะดวกด้านขนส่ง รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็ต้องทำไปควบคู่กัน โดยม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า ในสิ้นปี 58 นี้ ไทยจะทำเรื่องทั้งหมดได้เสร็จครบ 100%

 

ข่าวโดย เดลินืวส์ วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม 2558 เวลา 16:00 น.

0 likes

Author